top of page

ต้นพะยูง

พะยูง พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดหนองบัวลำภู ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre วงศ์ LEGUMINOSAE- PAPILIONOIDEAE

 

ชื่อสามัญ Siamese Rosewood

ชื่ออื่น ขะยุง แดงจีน ประดู่เสน พยุง

ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ 

ใบ เป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7 - 9 ใบ ขนาดกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง 

ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง 

ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด

นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้น ทั่ว ๆ ไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ออกดอก พฤษภาคม - กรกฎาคม ฝักแก่ กรกฎาคม - กันยายน

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ นำเมล็ดแช่ในน้ำเย็น 24 ชั่วโมง

วิธีเพาะ เพาะในกะบะเพาะก่อนย้ายชำโดยวิธีหว่านให้กระจายทั้งกะบะเพาะแล้วโรยทรายกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่ม   เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน เมื่อกล้าไม้อายุ 10-14 วัน ความสูงประมาณ 1 นิ้ว มีใบเลี้ยง 1 คู่ สามารถย้ายชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ได้

วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 - 70 C แล้วทิ้งไว้ให้เย็นเป็นเวลา 16 ชั่วโมง

ข้อสังเกตและผลการทดลอง

1. เมล็ดจะงอกภายในเวลาประมาณ 15 วัน

2. ระยะเวลาประมาณ 8 เดือน ต้นกล้าจะมีขนาดความสูงประมาณ 30-40 ซม. พร้อมที่จะย้ายปลูกได้

ประโยชน์ เนื้อไม้สีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด

bottom of page